
มีดช่างทินเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพมีความสวยงามและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายโดยอาศัยความรู้จากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษรวมทั้งอาศัยวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น
ประวัติ
ประวัตินายเศรษฐา แตงไทยนายเศรษฐา แตงไทยหรือที่บุคคลทั่วไปรู้จัก คือ "ช่างทิน" เกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503ที่บ้านจักษา ตำบลสะแกกรัง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานีเป็นบุตรของนายแทน และนางเอี่ยม แตงไทยสมัยเด็กอยู่กับบิดา มารดา ประกอบอาชีพทำปืน จากนั้นจึงเปลี่ยนมาเป็นการทำมีดและได้สมรสกับนางวาสนา แตงไทย
มีบุตรด้วยกัน 2 คน 1. นายสุทธินันท์ แตงไทย 2. นายธานี แตงไทย
ช่างทินเรียนรู้วิชาทำมีดจากบิดาและได้พัฒนาฝีมือพร้อมกับคิดค้นแบบใหม่ ๆ ขึ้นมา ช่างทินได้ประกอบอาชีพการทำมีดเพื่อหาเลี้ยงชีพด้วยความวิริยะอุตสาหะ ขณะเดียวกันก็ยังช่วยเหลืองานที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วยดีตลอดมาช่างทินได้เสียชีวิตลงด้วยโรคความดันโลหิต รวมอายุได้้ 43 ปี

1.แข็งแรงสวยงาม ฝีมืือประณีต
2.รูปแบบของสินค้าเป็นการออกแบบร่วมกันระหว่างผู้ใช้และผู้ผลิตเพื่อให้ได้งานที่สมดุล สวยงาม
3.มีรููปแบบที่แปลกใหม่ แปลกตาอยู่เสมอ
4. ความพอใจของสินค้าทุกชิ้น
อุปกรณ์และขั้นตอนการทำมีด

อุปกรณ์
1. ปากกาจับงาน 2. ตะไบ
3. กระดาษทราย 4. หินเจีย
5. กระดาษวาดแบบ 6. เขาสัตว์ต่างๆ
7. เหล็ก
ขั้นตอนการทำมีด
1. วาดแบบลงบนกระดาษแข็ง แล้วนำไปทาบเพื่อตัดเหล็กตามแบบ
2. ตัดวัสดุที่เข้ากับงาน เช่น เปลือกหอยมุก เขาควาย งาช้าง เป็นต้น
3. นำมาประกอบเข้าด้วยกัน โดยใช้หมุดย้ำเพื่อเพิ่มความแข็งแรง
4. เก็บรายละเอียดของชิ้นงาน


2.ในส่วนของด้าม ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ไม้และงาช้าง ต้องระวังอย่านำไปตากแดดจัดเพราะจะทำให้ด้ามชำรุดได้
3.วิธีการลับคม ใช้หินรับมีดชนิดละเอียดที่สุดขัดเบาๆบริเวณคมมีดหรือใช้กระดาษทรายเบอร์ 1000 ขัดเบาๆบริเวณคมมีด

............................................................................................................
ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร
ด้านเทคโนโลยีพื้นบ้าน

ครกกระเดื่องเป็นครกที่ใช้ประโยชน์ในการตำข้าว เปลือกเพื่อให้เป็นข้าวสารมารับประทาน เป็นเทคโนโลยีขั้น พื้นฐานอำนวยความสะดวกเพื่อดำรงชีวิต ครกกระเดื่องนอก จากจะใช้ตำข้าวแล้ว ยังใช้ตำแกลบหรือ เปลือกข้าวให้เป็นรำข้าวใช้เลี้ยงสัตว์ ตำแป้ง ขนมจีน ฯลฯ นับว่าเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์และ ไม่สิ้น

อย่างไรก็ตาม การตำข้าวโดยใช้แรงมนุษย์ ที่ต้องการข้าวซึ่งเป็นผลผลิตปริมาณมากและภาย ใต้เงื่อนไขเวลาที่จำกัดไม่อาจทำได้ จึง ได้เกิดภูมิปัญญาชาวบ้านคิดค้นนำเครื่องจักร กล จากเครื่องยนต์สูบน้ำจากเครื่องยนต์รถไถ เดินตาม มาประกอบเข้ากับอุปกรณ์อีกชุดหนึ่งเพื่อ หมุนวงล้อให้สัมผัสกับปุ่มยกแขนครกกระเดื่อง ให้ขึ้น - ลงแทนแรงคน
ครกกระเดื่องติดเครื่องจักรเป็นที่นิยมกันในกลุ่ม ผู้ประกอบอาชีพตำข้าวเม่าขาย ในช่วงฤดูข้าวออก รวงใหม่ที่เรียกว่า "ข้าวตั้งท้อง" หรือ "ข้าวกำลังเม่า" ผู้ที่ประกอบอาชีพตำข้าวเม่า ขาย จะนำข้าวที่ตั้งท้องเป็นเม่ามาใส่ กะทะคั่วให้สุกพอประมาณ แล้วใส่ครกตำ ให้เป็นเม็ดแบน เอาเปลือกออกแล้วนำไปขาย เป็นข้าวเม่าภายในช่วง เวลาที่ต้องจำหน่ายให้ผู้ บริโภคในวันหนึ่ง ๆ ให้หมด หากทิ้งข้ามวัน ข้าวเม่าจะไม่หอมไม่เหมาะแก่การบริโภค ครกกระเดื่อง ติดเครื่องจักร จึงเข้ามาแทนแรงงานคนได้ อย่างเหมาะสม

1. การลงทุนต่ำ ครกกระเดื่องติดเครื่องจักร มีราคาไม่สูงนัก ประกอบด้วยครกกระเดื่องที่มี อยู่แล้ว1-2 ใบ ต่อแขนให้ยาวพอ ประมาณ ต่อกับอุปกรณ์ที่ประกอบขึ้นและตัวมอเตอร์ที่ ใช้กำลังจากน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล
ห่วง ขนาด 18" 2 ตัว
เพลาราง 2 ตัว
ตุ๊กตาและลูกปืน 4 ตัว
เหล็กฉาบ 1 เส้น มู่เล่ 6" 1 ตัว
เหล็กแผ่น 1 แผ่น อุปกรณ์เหล่านี้นำมาเชื่อม-ประกอบต่อกับแกน มอเตอร์ จากเครื่องยนต์สูบน้ำ หรือเครื่องยนต์จากรถ ไถเดินตาม ก็สามารถขับเคลื่อนให้ครกกระเดื่องทำงาน ได้ค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งสิ้นประมาณ 2,400 บาท ( ไม่นับเครื่อง ยนต์สูบน้ำหรือรถไถเดิม ตามซึ่งมีอยู่แล้ว )
ประสิทธิภาพการใช้งานสูง
ครกกระเดื่องติดเครื่องจักร สามารถทำงานได้ยาวนานหลาย ชั่วโมงต่อเนื่องกัน จากการศึกษาการทำงาน ระหว่าง 08.00-22.00 น. จะสิ้น เปลืองน้ำมันดีเซลเพียง 40 บาท

ได้ผลกำไรคุ้มค่า
จากการศึกษาจากเกษตรกรรายหนึ่งพบว่า เมื่อปลูก ข้าวได้ 90 วันใน ปริมาณ 3 ไร่ จะได้ข้าวเปลือก ประมาณ 60 หมื่น ( 1 หมื่น = 12 กิโลกรัม ) นำ ข้าวเปลือกครึ่งหนึ่ง ( 30 หมื่น ) มาตำเป็นข้าวเม่า ขายจะได้เงินประมาณ 8,000 บาท ส่วนข้าวที่เหลือ อีกครึ่งหนึ่งจะปล่อยให้เมล็ดแก่เพื่อเก็บไว้ รับประทาน จึงนับว่าเป็นรายได้ที่งดงาม ใน ปัจจุบันข้าวเม่าขายในท้องตลาดราคากิโลกรัมละ 100 บาท
การปลูกข้าวเพื่อขายเป็นข้าวเม่าจึงนับว่ามี รายได้สูงกว่าการปลูกข้าวขาย แต่ทั้งนี้ ผู้ผลิตต้องรู้จักการนำพันธ์ข้าวชนิดต่าง ๆ ที่มีอายุสั้น-ปานกลาง-ยาว มา ปลูกเป็นช่วง ๆ เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวเมล็ดข้าว เป็นระยะ ๆยาวนาน นำมาตำเป็นข้าวเม่าจำหน่าย แต่ สิ่งที่สำคัญคือ ครกตำข้าวซึ่งจะช่วยผ่อน แรงคนให้สามารถตำข้าวได้ตลอด เวลา ผู้ประกอบ ธุรกิจจะสามารถส่งข้าวเม่าสู่ตลาดจำหน่ายให้บริโภคได้ ต่อวัน
ครกกระเดื่องติดเครื่องจักร จึงเป็นเทคโนโลยีพื้นบ้านที่ สำคัญอย่างหนึ่งในสังคมการเกษตรกรในภาคอีสาน
ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดอยุธยา
การประดิษฐ์ดอกไม้จากต้นโสน

กรรมวิธีการประดิษฐ์ดอกไม้จากโสน
นำต้นโสนที่โตสมบูรณ์ ลำต้นอวบ และต้นแก่แล้วมาทั้งต้นและราก แล้วนำมาล้างให้สะอาดโดยใช้กาบมะพร้าวถูดินออกจากลำต้นจนหมดแล้วนำมาตากแดดให้แห้ง ห้ามถูกฝน นำเก็บเข้ายุ้ง ต้นโสนที่แห้งแล้วนี้แม้ว่าจะเก็บนานถึง 2 – 3 ปี ก็ยังสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ได้
ขั้นตอนที่หนึ่ง ใช้มีดตัดต้นโสนที่แห้งแล้วให้เป็นท่อน ๆ ยาวประมาณท่อนละ 4 นิ้ว แล้วใช้มีดที่ลับคมขนาดใบมีดโกน ปอกเปลือกผิวนอกของโสนออกจนเห็นผิวของโสนเป็นสีขาว หลังจากนั้นก็เอามีดฝานเป็นแผ่นบาง ๆ รอบต้นโสนนั้น เมื่อฝานแล้วจะมีลักษณะคล้ายกระดาษบาง ๆ
ขั้นตอนที่สอง นำโสนที่ฝานแล้วมาเรียงซ้อนกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วนำแม่แบบ มาวางทาบ ใช้มีดตัดให้เป็นดอก , ใบ ตามที่ต้องการ ขั้นตอนที่สาม นำแบบที่ตัดไว้แล้วมาประดิษฐ์ให้เป็นรูป หรือจัดกลีบตามที่ต้องการ แล้วใช้ด้ายผูกโดยใช้ลวดเป็นแกนกลาง ขั้นตอนสุดท้าย นำดอกโสนที่ประดิษฐ์เสร็จแล้วมาย้อมสี ให้เหมือนธรรมชาติมากที่สุด โดยใช้สีย้อมแพร และสีย้อม
ไหม เสร็จแล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้ง เพื่อรอการประดิษฐ์เพิ่มเติมตามความต้องการของผู้ใช้ต่อไป ปัจจุบันแม้ว่าจะมีการประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติก โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์แต่ดอกไม้โสนก็ยังคงเป็นดอกไม้ที่ชาวบ้านชอบและรัก โดยส่วนใหญ่จะใช้ประดับในงานบวช งานศพ ที่ไม่ต้องลงทุนมากนัก นับว่าการประดิษฐ์ดอกไม้โสนที่อยุธยาเป็นงานช่างฝีมือและเป็นศิลปะพื้นบ้านที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นของชาวบ้านในอยุธยาที่ควรรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไป
