วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551

ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย

ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี
ผลิตภัณฑ์มีดช่างทิน


มีดช่างทินเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพมีความสวยงามและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายโดยอาศัยความรู้จากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษรวมทั้งอาศัยวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น
ประวัติ
ประวัตินายเศรษฐา แตงไทยนายเศรษฐา แตงไทยหรือที่บุคคลทั่วไปรู้จัก คือ "ช่างทิน" เกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503ที่บ้านจักษา ตำบลสะแกกรัง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานีเป็นบุตรของนายแทน และนางเอี่ยม แตงไทยสมัยเด็กอยู่กับบิดา มารดา ประกอบอาชีพทำปืน จากนั้นจึงเปลี่ยนมาเป็นการทำมีดและได้สมรสกับนางวาสนา แตงไทย
มีบุตรด้วยกัน 2 คน 1. นายสุทธินันท์ แตงไทย 2. นายธานี แตงไทย
ช่างทินเรียนรู้วิชาทำมีดจากบิดาและได้พัฒนาฝีมือพร้อมกับคิดค้นแบบใหม่ ๆ ขึ้นมา ช่างทินได้ประกอบอาชีพการทำมีดเพื่อหาเลี้ยงชีพด้วยความวิริยะอุตสาหะ ขณะเดียวกันก็ยังช่วยเหลืองานที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วยดีตลอดมาช่างทินได้เสียชีวิตลงด้วยโรคความดันโลหิต รวมอายุได้้ 43 ปี

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์



1.แข็งแรงสวยงาม ฝีมืือประณีต
2.รูปแบบของสินค้าเป็นการออกแบบร่วมกันระหว่างผู้ใช้และผู้ผลิตเพื่อให้ได้งานที่สมดุล สวยงาม
3.มีรููปแบบที่แปลกใหม่ แปลกตาอยู่เสมอ
4. ความพอใจของสินค้าทุกชิ้น


อุปกรณ์และขั้นตอนการทำมีด




อุปกรณ์
1. ปากกาจับงาน 2. ตะไบ
3. กระดาษทราย 4. หินเจีย
5. กระดาษวาดแบบ 6. เขาสัตว์ต่างๆ
7. เหล็ก


ขั้นตอนการทำมีด
1. วาดแบบลงบนกระดาษแข็ง แล้วนำไปทาบเพื่อตัดเหล็กตามแบบ
2. ตัดวัสดุที่เข้ากับงาน เช่น เปลือกหอยมุก เขาควาย งาช้าง เป็นต้น
3. นำมาประกอบเข้าด้วยกัน โดยใช้หมุดย้ำเพื่อเพิ่มความแข็งแรง
4. เก็บรายละเอียดของชิ้นงาน


วิธีการดูแลรักษา


1.ในส่วนใบมีดหลังการใช้งาน ให้เช็ดทำความสะอาด และชโลมน้ำมันจักรทิ้งไว้
2.ในส่วนของด้าม ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ไม้และงาช้าง ต้องระวังอย่านำไปตากแดดจัดเพราะจะทำให้ด้ามชำรุดได้
3.วิธีการลับคม ใช้หินรับมีดชนิดละเอียดที่สุดขัดเบาๆบริเวณคมมีดหรือใช้กระดาษทรายเบอร์ 1000 ขัดเบาๆบริเวณคมมีด




............................................................................................................


ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร


ด้านเทคโนโลยีพื้นบ้าน



ครกกระเดื่องติดเครื่องจักร



ลักษณะและวิธีการใช้
ครกกระเดื่องเป็นครกที่ใช้ประโยชน์ในการตำข้าว เปลือกเพื่อให้เป็นข้าวสารมารับประทาน เป็นเทคโนโลยีขั้น พื้นฐานอำนวยความสะดวกเพื่อดำรงชีวิต ครกกระเดื่องนอก จากจะใช้ตำข้าวแล้ว ยังใช้ตำแกลบหรือ เปลือกข้าวให้เป็นรำข้าวใช้เลี้ยงสัตว์ ตำแป้ง ขนมจีน ฯลฯ นับว่าเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์และ ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ทั้งยังเป็นการออก กำลังกายให้แข็งแรง ประหยัดเงินทองไม่ต้องจ้าง โรงสีสีซ้อมข้าว พร้อมกันนั้นก็ยังได้ ปลายข้าว รำข้าว เป็นผลิตผลพลอยได้ตามมา
อย่างไรก็ตาม การตำข้าวโดยใช้แรงมนุษย์ ที่ต้องการข้าวซึ่งเป็นผลผลิตปริมาณมากและภาย ใต้เงื่อนไขเวลาที่จำกัดไม่อาจทำได้ จึง ได้เกิดภูมิปัญญาชาวบ้านคิดค้นนำเครื่องจักร กล จากเครื่องยนต์สูบน้ำจากเครื่องยนต์รถไถ เดินตาม มาประกอบเข้ากับอุปกรณ์อีกชุดหนึ่งเพื่อ หมุนวงล้อให้สัมผัสกับปุ่มยกแขนครกกระเดื่อง ให้ขึ้น - ลงแทนแรงคน
ครกกระเดื่องติดเครื่องจักรเป็นที่นิยมกันในกลุ่ม ผู้ประกอบอาชีพตำข้าวเม่าขาย ในช่วงฤดูข้าวออก รวงใหม่ที่เรียกว่า "ข้าวตั้งท้อง" หรือ "ข้าวกำลังเม่า" ผู้ที่ประกอบอาชีพตำข้าวเม่า ขาย จะนำข้าวที่ตั้งท้องเป็นเม่ามาใส่ กะทะคั่วให้สุกพอประมาณ แล้วใส่ครกตำ ให้เป็นเม็ดแบน เอาเปลือกออกแล้วนำไปขาย เป็นข้าวเม่าภายในช่วง เวลาที่ต้องจำหน่ายให้ผู้ บริโภคในวันหนึ่ง ๆ ให้หมด หากทิ้งข้ามวัน ข้าวเม่าจะไม่หอมไม่เหมาะแก่การบริโภค ครกกระเดื่อง ติดเครื่องจักร จึงเข้ามาแทนแรงงานคนได้ อย่างเหมาะสม

ประโยชน์
1. การลงทุนต่ำ ครกกระเดื่องติดเครื่องจักร มีราคาไม่สูงนัก ประกอบด้วยครกกระเดื่องที่มี อยู่แล้ว1-2 ใบ ต่อแขนให้ยาวพอ ประมาณ ต่อกับอุปกรณ์ที่ประกอบขึ้นและตัวมอเตอร์ที่ ใช้กำลังจากน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล
ส่วนประกอบที่สำคัญ เช่น

ห่วง ขนาด 18" 2 ตัว
เพลาราง 2 ตัว
ตุ๊กตาและลูกปืน 4 ตัว
เหล็กฉาบ 1 เส้น มู่เล่ 6" 1 ตัว

เหล็กแผ่น 1 แผ่น อุปกรณ์เหล่านี้นำมาเชื่อม-ประกอบต่อกับแกน มอเตอร์ จากเครื่องยนต์สูบน้ำ หรือเครื่องยนต์จากรถ ไถเดินตาม ก็สามารถขับเคลื่อนให้ครกกระเดื่องทำงาน ได้ค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งสิ้นประมาณ 2,400 บาท ( ไม่นับเครื่อง ยนต์สูบน้ำหรือรถไถเดิม ตามซึ่งมีอยู่แล้ว )

ประสิทธิภาพการใช้งานสูง
ครกกระเดื่องติดเครื่องจักร สามารถทำงานได้ยาวนานหลาย ชั่วโมงต่อเนื่องกัน จากการศึกษาการทำงาน ระหว่าง 08.00-22.00 น. จะสิ้น เปลืองน้ำมันดีเซลเพียง 40 บาท


ได้ผลกำไรคุ้มค่า

จากการศึกษาจากเกษตรกรรายหนึ่งพบว่า เมื่อปลูก ข้าวได้ 90 วันใน ปริมาณ 3 ไร่ จะได้ข้าวเปลือก ประมาณ 60 หมื่น ( 1 หมื่น = 12 กิโลกรัม ) นำ ข้าวเปลือกครึ่งหนึ่ง ( 30 หมื่น ) มาตำเป็นข้าวเม่า ขายจะได้เงินประมาณ 8,000 บาท ส่วนข้าวที่เหลือ อีกครึ่งหนึ่งจะปล่อยให้เมล็ดแก่เพื่อเก็บไว้ รับประทาน จึงนับว่าเป็นรายได้ที่งดงาม ใน ปัจจุบันข้าวเม่าขายในท้องตลาดราคากิโลกรัมละ 100 บาท
การปลูกข้าวเพื่อขายเป็นข้าวเม่าจึงนับว่ามี รายได้สูงกว่าการปลูกข้าวขาย แต่ทั้งนี้ ผู้ผลิตต้องรู้จักการนำพันธ์ข้าวชนิดต่าง ๆ ที่มีอายุสั้น-ปานกลาง-ยาว มา ปลูกเป็นช่วง ๆ เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวเมล็ดข้าว เป็นระยะ ๆยาวนาน นำมาตำเป็นข้าวเม่าจำหน่าย แต่ สิ่งที่สำคัญคือ ครกตำข้าวซึ่งจะช่วยผ่อน แรงคนให้สามารถตำข้าวได้ตลอด เวลา ผู้ประกอบ ธุรกิจจะสามารถส่งข้าวเม่าสู่ตลาดจำหน่ายให้บริโภคได้ ต่อวัน
ครกกระเดื่องติดเครื่องจักร จึงเป็นเทคโนโลยีพื้นบ้านที่ สำคัญอย่างหนึ่งในสังคมการเกษตรกรในภาคอีสาน

.........................................................................................


ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดอยุธยา
การประดิษฐ์ดอกไม้จากต้นโสน


คนไทย เป็นชนชาติหนึ่งที่มีนิสัยในการประดิษฐ์คิดค้น สร้างสรรค์ และนิสัยดัดแปลง สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น รู้จักประดิษฐ์ดอกไม้จากต้นไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ให้เกิดเป็นศิลปะที่มีคุณค่าต่าง ๆ ตามประโยชน์ใช้สอย การประดิษฐ์ดอกไม้ของไทยในอดีตนั้น ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เช่น ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง ตลอดจนดอกไม้สด และใช้ในการประดับตกแต่ง หรือเป็นเครื่องห้อยในงานที่สำคัญ ๆ การใช้ดอกไม้สดนั้น ไม่คงทนถาวร ทำให้ต้องเปลี่ยนบ่อย ๆ ถ้าใช้ในการประดับตกแต่งหลาย ๆ วัน ย่อมทำให้เสียเวลาในการจัดดอกไม้ประดับแต่ละครั้ง และจากสาเหตุนี้เองทำให้บ้านเกิดความคิดที่จะประดิษฐ์ดอกไม้จากสิ่งอื่นขึ้นแทนดอกไม้สด ต้นโสน เป็นพืชที่ขึ้นทั่วไปในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยขึ้นตามทุ่งนา เวลาน้ำท่วมทุ่งปะปนอยู่กับข้าวและจะขึ้นตามท้องที่เคยมีต้นโสนขึ้นเป็นประจำ ออกดอกเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่ง มีลักษณะลำต้นกลมยาว เปลือกสีน้ำตาล ชาวบ้านเรียกว่า ต้นโสนหางไก่ ปัจจุบันสภาพแวดล้อมของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเปลี่ยนแปลงไปมาก น้ำไม่ท่วมทุ่งนาเหมือนสมัยก่อน โสนซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการประดิษฐ์ดอกไม้ ต้องสั่งซื้อมาจากจังหวัดนครนายก และปราจีนบุรี ซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง คือร้อยต้นละ 35 – 40 บาท การประดิษฐ์ดอกไม้จากไม้จากต้นโสน ทำกันมากบริเวณตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชาวบ้านที่นี่มีความสามารถ ในการประดิษฐ์ดอกไม้ โสน กันแทบทุกครัวเรือน แต่ที่มีฝีมือในการประดิษฐ์ มีลักษณะเป็นธรรมชาติทั้งสีสันและรูปแบบ มีจำนวนไม่มากนักในรายที่มีฝีมือไม่ประณีต สวยงาม จะใช้ในงานบวช และส่งไปจำหน่ายยังประเทศญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงค์โปร์ และประเทศอื่น ๆ ซึ่งผลงานการประดิษฐ์มี่ราคาแพงกว่าแบบแรก หลายเท่าตัว ปัจจุบันเศษวัสดุจากต้นโสนที่หลังจากการประดิษฐ์ เช่น เปลือก และแกนโสน จะมีผู้มาขอซื้อเพื่อนำไปประดิษฐ์สิ่งอื่น ๆ ในราคากิโลกรัมละ 10 – 12 บาท ปัจจุบันการประดิษฐ์ดอกไม้จากโสน ได้รับความนิยมมากขึ้นได้ขยายตัวไปยังตำบลบ้านกรด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดอกไม้ที่ประดิษฐ์ส่วนมากจะเป็นดอกเยียบีร่า เป็นพื้นดอกไม้อื่น ๆ ได้แก่ ดอกเบญมาศ ดอกบัว ดอกกุหลาบ พุด มะลิ คาร์เนชั่น และอื่น ๆ

กรรมวิธีการประดิษฐ์ดอกไม้จากโสน
นำต้นโสนที่โตสมบูรณ์ ลำต้นอวบ และต้นแก่แล้วมาทั้งต้นและราก แล้วนำมาล้างให้สะอาดโดยใช้กาบมะพร้าวถูดินออกจากลำต้นจนหมดแล้วนำมาตากแดดให้แห้ง ห้ามถูกฝน นำเก็บเข้ายุ้ง ต้นโสนที่แห้งแล้วนี้แม้ว่าจะเก็บนานถึง 2 – 3 ปี ก็ยังสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ได้
ขั้นตอนที่หนึ่ง ใช้มีดตัดต้นโสนที่แห้งแล้วให้เป็นท่อน ๆ ยาวประมาณท่อนละ 4 นิ้ว แล้วใช้มีดที่ลับคมขนาดใบมีดโกน ปอกเปลือกผิวนอกของโสนออกจนเห็นผิวของโสนเป็นสีขาว หลังจากนั้นก็เอามีดฝานเป็นแผ่นบาง ๆ รอบต้นโสนนั้น เมื่อฝานแล้วจะมีลักษณะคล้ายกระดาษบาง ๆ
ขั้นตอนที่สอง นำโสนที่ฝานแล้วมาเรียงซ้อนกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วนำแม่แบบ มาวางทาบ ใช้มีดตัดให้เป็นดอก , ใบ ตามที่ต้องการ ขั้นตอนที่สาม นำแบบที่ตัดไว้แล้วมาประดิษฐ์ให้เป็นรูป หรือจัดกลีบตามที่ต้องการ แล้วใช้ด้ายผูกโดยใช้ลวดเป็นแกนกลาง ขั้นตอนสุดท้าย นำดอกโสนที่ประดิษฐ์เสร็จแล้วมาย้อมสี ให้เหมือนธรรมชาติมากที่สุด โดยใช้สีย้อมแพร และสีย้อมไหม เสร็จแล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้ง เพื่อรอการประดิษฐ์เพิ่มเติมตามความต้องการของผู้ใช้ต่อไป ปัจจุบันแม้ว่าจะมีการประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติก โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์แต่ดอกไม้โสนก็ยังคงเป็นดอกไม้ที่ชาวบ้านชอบและรัก โดยส่วนใหญ่จะใช้ประดับในงานบวช งานศพ ที่ไม่ต้องลงทุนมากนัก นับว่าการประดิษฐ์ดอกไม้โสนที่อยุธยาเป็นงานช่างฝีมือและเป็นศิลปะพื้นบ้านที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นของชาวบ้านในอยุธยาที่ควรรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไป





ในหลวงกับเทคโนโลยี


1ความเป็นมาของวันเทคโนโลยีไทย...
ปี พ.ศ. 2544 นี้ เป็นปีที่ 32 นับแต่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เริ่มมีการทดลอง ปฏิบัติการจริง ในท้องฟ้าครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2512 และเป็นปีที่ 46 นับแต่ทรงเริ่มมีพระราชดำริ เมื่อ พ.ศ. 2498 เทคโนโลยีฝนหลวงที่ทรงทุ่มเทคิดค้นขึ้นมานี้ มิได้ยังประโยชน์ ต่อพสกนิกรไทยทุกหมู่เหล่าเท่านั้น แต่ยังเอื้อประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ชาติทั่วไป ดังจะเห็นได้ว่า นับแต่ประเทศไทยได้จดทะเบียนกิจกรรมฝนหลวงกับองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก แห่งสหประชาชาติ เป็นครั้งแรก เมื่อพ.ศ. 2525 เทคโนโลยีฝนหลวง จึงได้ถูกเผยแพร่เข้าสู่การยอมรับ และถ่ายทอดตามคำร้องขอให้แก่สมาชิกที่มีกิจกรรมดัดแปรสภาพอากาศ ขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก รวม 28 ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้ถ่ายทอดโดยตรงให้กับมิตรประเทศ ทั้งในกลุ่มอาเซียน 5 ประเทศ และนอกกลุ่ม เช่น ประเทศศรีลังกา บังคลาเทศ ปากีสถาน โอมาน เป็นต้น รวมทั้งมีการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และข้อมูลระหว่างกันกับประเทศ สหรัฐ อเมริกา แคนนาดา ออสเตรเลีย อิตาลี ฝรั่งเศส และสาธารณรัฐประชาชนจีน จนกระทั่งกลุ่มประเทศอาเซียน และองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ยกให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการดัดแปรสภาพอากาศ ในภูมิภาคเขตร้อน ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกจึงได้ ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ในฐานะที่ทรงพระปรีชาสามารถ และทรงเป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกให้กิจกรรมดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดฝนในภูมิภาคเขตร้อน มีความเป็นไปได้ และก้าวหน้ามาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น รัฐบาลได้ตระหนักถึงพระปรีชาสามารถในทางเทคนิค จึงมีมติคณะรัฐมนตรี ถวายพระเกียรติให้ทรงเป็น "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย" เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2543
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2544 และมีมติเลือกวันที่ทรงสาธิต ปฏิบัติการฝนหลวง แก่นักวิทยาศาสตร์สิงค์โปร์ จากเขื่อนแก่งกระจาน โดยใช้สนามบินบ่อฝ้าย อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นฐานปฏิบัติการ จนประสบความสำเร็จ เป็นที่อัศจรรย์ และประจักษ์ในพระปรีชาสามารถ ต่อนักวิทยาศาสตร์สิงคโปร์ และผู้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในวันนั้น





เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515 ให้เป็น "วันเทคโนโลยีของไทย" มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เทียบเท่าวันที่รัชกาลที่ 4 เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร สุริยุปราคา ณ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรำลึกถึง และทรงปรารภกับคณะบุคคลต่างๆ ที่มีโอกาสเข้าเฝ้าละอองธุลีพระบาท ไม่ว่าจะเป็น คณะผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ ด้านการดัดแปรสภาพอากาศ หรือคณะผู้บริหารระดับสูง และผู้ปฏิบัติ ในโครงการพระราชดำริฝนหลวง อยู่เสมอว่า ผู้ที่ทำให้โครงการพระราชดำริเป็นจริง และก้าวหน้ามาจนถึงปัจจุบัน คือ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิจัยประดิษฐ์ ด้านเกษตรวิศวกรรม ผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทยในขณะนั้น ซึ่งเป็นผู้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม รับพระราชทานแนวพระราชดำริ และข้อสมมติฐานมาดำเนินการค้นคว้าทดลอง วิจัยและพัฒนา ปฏิบัติการจนสำเร็จ และก้าวหน้ามาจนถึงทุกวันนี้ ทรงยกย่อง "ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล" ว่าเป็น "บิดาแห่งฝนหลวง" สำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในกิจกรรมโครงการพระราชดำริฝนหลวงตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ทุกหมู่เหล่า นอกจากจะซึมซับอยู่ในความทรงจำแล้ว ยังตระหนักดีว่าเหนือกว่า"บิดาแห่งฝนหลวง" แล้ว ยังมี "พระบิดาแห่งฝนหลวง" ผู้ทรงจุดประกายให้ "ฝนหลวง" ขึ้นมาในมนุษย์โลก และทรงเป็นหลักชัยของโครงการพระราชดำริฝนหลวง มาตราบเท่าทุกวันนี้ และตลอดไปชั่วกาลนาน


2.พระราชกรณียกิจด้านดาวเทียม...
ดาวเทียมไทยคมนับว่า เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้การสื่อสารโทรคมนาคมของไทยก้าวสู่ยุคแห่งความล้ำหน้า และได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสนองพระราชดำริในเรื่องของการศึกษา คุณขวัญแก้ว วัชโรทัย เป็นผู้สนองพระราชภารกิจที่โรงเรียนไกลกังวล หัวหินซึ่งขณะนี้ได้พยายามที่จะนำเอาดาวเทียมไทยคมเข้าไปใช้ในกิจการด้านการเรียนการสอน เจตนารมณ์ดังกล่าวเป็นการสนองตอบความต้องการของประชาชน และเป็นการปรับปรุงในเรื่องของการศึกษาให้สอดคล้องกับยุคสมัยอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการจัดการศึกษาใต้ร่มพระบารมีอย่างแท้จริง และที่สำคัญเพื่อเป็นการสนองพระบรมราโชบายทางการศึกษา ในอันที่จะทำให้โรงเรียนไกลกังวลเป็นเครือข่ายและเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาไทยคมอย่างแท้จริง กล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นอเนกอนันต์ต่อประเทศชาติ ที่ได้มีพระราชดำริให้มีการพัฒนางานทางระบบวิทยุสื่อสารขึ้นในประเทศอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เพราะสังคมปัจจุบันนั้น การสื่อสารก็เปรียบเสมือนกับระบบประสาทของร่างกายมนุษย์ ดังนั้นจึงนับได้ว่า พระองค์ท่านนั้นมีสายพระเนตรที่ยาวไกล ทรงเห็นบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อการสื่อสาร





3.ทฤษฎีว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศฝนหลวง...
ในปี พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงเยี่ยม พสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงพบเห็นว่าหลายแห่งประสบปัญหา พื้นดินแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรมักประสบความเดือดร้อนจากภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล และทรงความอัจฉริยะของพระองค์ด้วยคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ ทรงสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้น และได้มีพระราชดำริครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2498 แก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ว่าจะทรงค้นหา วิธีการที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับจากธรรมชาติโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ กับทรัพยากร ที่มีอยู่ให้เกิดมีศักยภาพของการเป็นฝนให้ได้ "ฝนหลวง" หรือ "ฝนเทียม" จึงกำเนิดขึ้นโดยประยุกต์ผลการวิจัยค้นคว้าทางวิชาการด้านฝนเทียมของประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอิสราเอล ภายใต้การพระราชทานข้อแนะนำจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่าง ใกล้ชิดพร้อมกันนี้ได้มีการจัดตั้ง "สำนักงานปฎิบัติการฝนหลวง" ขึ้น เพื่อรับผิดชอบการดำเนินงานฝนหลวงในระยะต่อ มาจนถึงปัจจุบัน การทำฝนหลวงว่ามี 3 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน เป็นการกระตุ้นให้เมฆรวมตัวเป็นกลุ่มแกน เพื่อใช้เป็น แกนกลางในการสร้างกลุ่มเมฆฝนในระยะต่อมา สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมคาร์ไบด์ แคลเซียมอ๊อกไซด์ หรือสารผสมระหว่าง เกลือแกงกับสารยูเรีย หรือสารผสม ระหว่างสารยูเรียกับแอมโมเนียมไนเตรท ซึ่งสารผสมดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดกระบวนการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศ 2. ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน ขั้นตอนนี้ใช้สารเคมี คือ เกลือแกง สารประกอบสูตร ท.1 สารยูเรีย สารแอมโมเนียไนเตรท น้ำแข็งแห้ง และอาจใช้สารแคลเซียมคลอไรด์ร่วมด้วยเพื่อเป็นการเพิ่มแกนเม็ดไอน้ำ (Nuclii) ให้กลุ่มเมฆฝน มีความหนาแน่นมากขึ้น 3. ขั้นตอนที่ 3 โจมตี สารเคมีที่ใช้ในขั้นตอนนี้เป็นสารเย็นจัด คือซิลเวอร์ไอโอได น้ำแข็งแห้ง เพื่อทำให้เกิดภาวะความไม่สมดุลมากที่สุด ซึ่งจะเกิดเป็นเม็ดน้ำ ที่มีขนาดใหญ่มากและตกกลายเป็นฝนในที่สุด อย่างไรก็ดี ทุกขั้นตอนจะต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ในการตัดสินใจที่จะเลือกใช้สารเคมีในปริมาณที่พอเหมาะ ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงสภาพอากาศสภาพภูมิประเทศทิศทางและความเร็วของลม ตลอดจนกำหนดบริเวณหรือแนวพิกัด ที่จะโปรยสารเคมี
ประโยชน์ของการทำฝนหลวง 1. เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตรในช่วงที่เกิดภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงยาวนานเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำ ให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำของแม่น้ำสายต่างๆ ที่มีปริมาณน้ำต้นทุนลดน้อยลง 2. เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เสริมสร้างเส้นทางคมนาคมทางน้ำ เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำโดยเฉพาะในบริเวณแม่น้ำที่ตื้นเขินให้สามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมได้ 3. เพื่อป้องกันและบำบัดภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม "ฝนหลวง" ได้บรรเทาภาวะแวดล้อมเป็นพิษอันเกิดจากการระบาย น้ำเสีย และขยะมูลฝอยลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำจากฝนหลวงจะทำให้ภาวะมลพิษจากน้ำเสียเจือจางลง 4. เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าฝนหลวงในอนาคตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวความคิดให้ทำการศึกษาวิจัยพัฒนาฝนหลวงหลายประการ คือ สร้างจรวดฝนเทียมบรรจุสารเคมีจากพื้นดินเข้าสู่เมฆหรือยิงจากเครื่องบิน การใช้เครื่องพ่นสารเคมีอัดแรงกำลังสูงจากยอดเขาสู่ฐานของก้อนเมฆโดยตรง เพื่อช่วยให้เมฆที่ลอยปกคลุมอยู่เหนือยอดเขาสามารถรวมตัวหนาแน่น จนเกิดฝนตกลงสู่บริเวณภูเขาหรือพื้นที่ใต้ลมของภูเขา













วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2550

จงเติมคำลงในช่องว่างต่อไปนี้ให้สมบูรณ์และถูกต้อง

1. คำว่า Communis แปลว่า คล้ายคลึง หรือร่วมกัน
2. การสื่อความหมาย หมายถึง เป็นกระบวนการส่งหรือ ถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะจากบุคคลหนื่ง เรียกว่าผู้ส่งไปยังผู้รับ
3. Sender Message Channel Reciever
4. สาร หมายถึง เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด
5. Elements หมายถึง องค์ประกอบย่อยๆ พื้นฐานต้องมี สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ สีแดง เหลือง เส้น เป็นต้น
6. Structure หมายถึง โครงสร้างที่เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบย่อยๆ มารวมกัน
ตัวอย่าง เช่น ประโยค หรือสีเส้นของรูปร่าง รูปทรง ถ้าเปลี่ยนตำแหน่งองค์ประกอบโครงสร้างก็จะเปลี่ยนด้วย มาก >กาม ยาก> กาย
7. Content หมายถึง ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิดความต้องการของผู้ส่ง ข้อมูลนั้นเป็น
เรื่องเกี่ยวกับอะไร สอดคล้องเหมาะสมกับอะไร จะวางแผนในการเข้ารหัสและจัดส่งอย่างไร แต่ละแนวทางอาจได้ผลที่แตกต่างกัน
8. Treatment หมายถึง วิธีการเลือก การจัดรหัสและเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบที่จะ
สามารถถ่ายทอดความต้องการของผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมี ประสิทธิภาพซึ่งผู้ส่งแต่ละคนจะมีวิธีการหรือเทคนิคเฉพาะตัว บางที่เรียกว่า Style ในการสื่อความหมาย
9. Code หมายถึง กลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ เช่น
ภาษาพูด ภาษาเขียน ดนตรี ภาพวาด กิริยา ท่าทาง ผู้ส่งสารจำเป็นต้องตัดสินใจว่าจะใช้รหัสแบบใดจึงบรรลุเป้าหมายได้ดีที่สุด
10. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน อากาศร้อน กลิ่นไม่พึงประสงค์
แสงแดด ฝนสาด
11.อุปสรรคหรืสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัว อาการเจ็บป่วย ความ
วิตกกังวล
12. Encode หมายถึง ผู้ส่งสารขาดความสามารถในการเข้ารหัส
13. Decode หมายถึง ผู้รับขาดความสามารถในการถอดรหัส
14. จงอธิบายการสื่อความหมายในการาเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง
กระบวนการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้


ครู เนื้อหา.หลักสูตร สื่อหรือช่องทาง นักเรียน


(Source) (Message) (Channel) (Receiver)



ผลย้อนกลับ
1.ครูในฐานะเป็นผู้ส่งและกำหนดจุดมุ่งหมายของระบบการสอน ครูจึงควรมีพฤติกรรมดังนี้
1.1 ต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาที่จะสอนเป็นอย่างดี
1.2 มีความสามารถในการสื่อความหมาย เช่น การพูด การเขียน ลีลา ท่าทาง ฯลฯ
1.3 ต้องจัดบรรยากาศในการเรียนให้อื้อต่อการเรียนรู้
1.4 ต้องวางแผนจัดระบบการถ่ายทอดความรู้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน
2. เนื้อหา หลักสูตร ตลอดจนทัศนคติ ทักษะ และ ประสบการณ์เป็น สิ่งสำคัญที่ครูจะถ่ายทอดไปสู่ผู้เรียน ดังนั้น เนื้อหาควรมีลักษณะดังนี้
2.1 หมาะสมกับเพศและวัยของผู้เรียน
2.2 สอดคล้องกับเทคนิค วิธีสอน หรือสิ่งต่างๆ
2.3 เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกาลเวลา ควรปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
3. สื่อหรือช่องทาง เป็นตัวกลางหรือพาหนะที่จะนำเนื้อหาจากครูผู้สอนเข้าไปสู้ภายในของผู้เรียน ลักษณะของสื่อควรเป็นดังนี้
3.1 มีศักยภาพเหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหา
3.2 สอดคล้องกับธรรมชาติของประสาทสัมผัสแต่ละช่องทาง
3.3 เด่น สะดุดตา ดูง่าย สื่อความหมายดี
4. นักเรียนหรือผู้เรียน เป็นเป้าหมายหลักของกระบวนการเรียนการสอนที่จะทำให้ผู้เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนจึงควรมีลักษณะดังนี้
4.1 มีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย โดยเฉพาะประสาทสัมผัสทั้ง 5
4.2 มีความพร้อมทางด้านจิตใจ อารมณ์มั่งคง
4.3 มีทักษะในการสื่อความหมาย
4.4 มีเจตคติต่อครูผู้สอนและเนื้อหาวิชา
15. จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน
กระบวนการเรียนการสอนมักจะประสบความล้มเหลวบ่อยๆ เนื่องจากอุปสรรคหลายประการดังนี้
1. ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ในการเรียนทราบก่อนลงมือสอน ทำให้ผู้เรียนขาดเป้าหมายในการเรียน
2. ครูผู้สอนไม่คำนึงข้อจำกัดและขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน จึงมักใช้วิธีสอนแบบเดียวกันทุกคน
3. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะจัดบรรยากาศ ขจัดอุปสรรคและสร้างความพร้อมให้แก่ผู้เรียนก่อนลงมือสอน
4. ครูผู้สอนบางคนใช้คำยาก ทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจความหมายของคำ และเนื้อหาโดยรวม
5. ครูผู้สอนมักนำเสนอหาวกวน สับสน รวดเร็ว ไม่สัมพันธ์ต่อเนื่อง กระโดดไปมาทำให้เข้าใจยาก
6. ครูผู้สอนไม่หรือเลือกใช้สื่อการสอนหรือเลือกใช้สื่อการสอนไม่เหมาะสมกับเนื้อหา และระดับของผู้เรียน

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

นวัตกรรมการเรียนรู้ สู่การศึกษาที่แท้




นวัตกรรมการเรียนรู้ สู่การศึกษาที่แท้

ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด
ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการสื่อสารพัฒนาการเรียนรู้
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)

ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ผนวกกับความพากเพียรอุตสาหะได้รังสรรค์สิ่งใหม่ๆออกมาในโลกอยู่ตลอดเวลา เราเรียกสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ว่า “นวัตกรรม” นวัตกรรมตรงกับคำว่า “innovation” ในภาษาอังกฤษ โดยที่ในภาษาอังกฤษคำกริยาว่า innovate นั้นมีรากศัพท์มาจากคำภาษาลาตินว่า innovare ซึ่งแปลว่า “to renew” หรือ “ทำขึ้นมาใหม่” คนทั่วไปมักจะเข้าใจผิด คิดว่านวัตกรรมเป็นคำที่เกี่ยวข้องเฉพาะสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นในวงการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งในเรื่องนี้สมเด็จพระเทรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงอธิบายไว้ในการแสดงปาฐกถาเรื่อง “เทคโนโลยี นวัตกรรม กับการพัฒนาประเทศ” ในการประชุมประจำปีของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 มีใจความตอนหนึ่งว่า

“... คนเรานั้นจะต้องมี นวัตกรรม คือต้อง innovative หรือต้องรู้จักสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า ปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก แต่ว่าก็ต้องสามารถปรับโลกให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นอยู่หรือความพอใจความสุขสบายของตัวเองเหมือนกัน ต้องแก้ปัญหาด้วยความคิด พอทางหนึ่งตันก็ต้องหาทางใหม่ ไม่งอมืองอเท้ายิ่งใน ภาวะวิกฤต ยิ่งต้องการนวัตกรรม ซึ่งไม่เฉพาะแต่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเท่านั้น หากแต่เป็นนวัตกรรมของทั้งระบบโดยรวม ตั้งแต่สังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม...”

นวัตกรรมทางด้านการเรียนรู้ก็เช่นกัน จะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องอาศัย “วิถีคิด” ที่ออกนอกกรอบเดิมพอสมควร คือจะต้องออกนอก “ร่อง” หรือช่องทางเดิมๆที่เคยชิน เรียกได้ว่าจะต้องพลิกกระบวนทัศน์ (shift paradigm) ที่มีอยู่เดิมเกี่ยวกับการเรียนรู้เสียใหม่ จากที่เคยเข้าใจว่า การเรียนรู้ก็คือการศึกษาเพียงเพื่อให้ได้รู้ไว้ มาเป็นการเรียนรู้ที่นำมาใช้พัฒนางาน พัฒนาชีวิต ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้แบบหลังนี้จึงเป็นความรู้ชนิดที่แนบแน่นอยู่กับงาน เกี่ยวพันอยู่กับปัญหา เป็นความรู้ที่มีบริบท (context-riched) ไม่ใช่ความรู้ที่อยู่ลอยๆ ไม่สัมพันธ์หรืออิงอยู่กับบริบทใดๆ (contextless) การเรียนรู้ตามกระบวนทัศน์ใหม่นี้จึงมักจะเริ่มต้นด้วยการพัฒนาตัวโจทย์ขึ้นมาก่อนโดยใช้ปัญหาหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงเป็นหลัก เรียกได้ว่ามีความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น จึงเป็นแรงผลักดันทำให้เกิดการเรียนรู้นี้ขึ้น การเรียนรู้ประเภทนี้เรียกได้ว่าเป็นการเรียนรู้แบบอุปสงค์ (demand-side learning) คือ มีความประสงค์ มีความต้องการที่จะทำอะไรบางอย่าง แล้วจึงเกิดการเรียนรู้ขึ้นมา ซึ่งจะตรงกันข้ามกับการเรียนรู้แบบที่เราคุ้นเคยกันดีในระบบการศึกษา ที่มักจะเน้นการถ่ายทอดความรู้จากครูไปสู่นักเรียน คือจากผู้รู้ไปสู่ผู้เรียน คือมีลักษณะเป็นการเรียนรู้แบบอุปทาน (supply-side learning) ซึ่งข้อเสียที่เห็นได้ชัดเจนของการเรียนรู้แบบนี้ก็คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นครูต้องคอยป้อน(ยัด) ความรู้เหล่านี้เข้าปาก(หัว) ผู้เรียนอยู่ตลอดเวลา โดยมักจะใช้การประเมิน การวัดผล หรือการสอบ เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับใช้ “ผลัก” หรือ “ดัน” ให้คนหันมาสนใจตั้งใจเรียน การเรียนรู้แบบนี้ครูจึงมีหน้าที่หลักในการ “ผลัก” หรือ “push” ให้เกิดการเรียนรู้ มากกว่าที่จะปล่อยให้ผู้เรียน “ฉุด” หรือ “ดึง” (pull) ตัวเองไปโดยใช้ความสนใจหรือความต้องการที่จะเรียนรู้เป็นตัวดึง ซึ่งก็คือแรงบันดาลใจที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนเองโดยไม่ต้องให้ใครมาออกแรงผลัก ออกแรงดันดังเช่นที่ทำกันอยู่ในทุกวันนี้

การเรียนรู้ภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่นี้จะสร้างมุมมองที่ค่อนข้างจะเป็นองค์รวม (holistic view) คือมองเห็นงาน เห็นปัญหา เห็นชีวิต ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน มองว่าปัญหาเป็นส่วนหนึ่งของงาน และมองเห็นงานเป็นกระบวนการที่สำคัญของชีวิต จนอาจเข้าใจลึกซึ้งถึงขั้นที่เห็นว่า “การทำงานคือการปฏิบัติธรรม” ตามคำกล่าวของท่านอาจารย์พุทธทาสเลยทีเดียว ในขณะที่กระบวนทัศน์เดิมจะมองงานด้วยสายตาที่คับแคบกว่ามาก คือมองเห็นงานว่าเป็นเรื่องของการทำมาหากินประกอบอาชีพ เพื่อให้ได้เงินมาสำหรับจับจ่ายใช้สอยเพียงเท่านั้น ผู้ที่คิดเช่นนี้ มักจะเห็นงานว่าเป็นสิ่งที่ยากลำบาก เป็นสิ่งที่ต้องทนทำไป เพียงเพื่อให้ได้เงินมาจึงจะมีความสุข หลายคนถึงกับบ่นกับตัวเองว่า เมื่อไรจะถึงวันหยุด เมื่อไรจะถึงวันเสาร์-อาทิตย์ (สำหรับคนที่ทำงานออฟฟิศ หรือรับราชการ) ซึ่งการคิดแบบนี้จะเห็นได้ทันทีว่าพวกเขาเหล่านี้จะมีชีวิตที่ “ขาดทุน” ไปทุกๆสัปดาห์ เพราะสัปดาห์หนึ่งๆ จำต้องทนทุกข์ทรมานไป 5 วัน โดยที่รู้สึกสุขได้เพียงแค่ 2 วัน เรียกว่าต้องขาดทุนสะสมไปเรื่อยๆทุกสัปดาห์ แต่ภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่นี้ที่มองเห็นงาน ปัญหา และชีวิตว่าเป็นสิ่งเดียวกัน จะทำให้เราเข้าใจสิ่งที่ท่านอาจารย์พุทธทาสพร่ำสอนอยู่เสมอว่า “ความสุขที่แท้ มีอยู่แต่ในงาน”

การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งสำหรับสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ แต่ลำพังเพียงแค่การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์หรือวิถีคิด ก็มิได้หมายความว่านวัตกรรมการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เองโดยปริยาย จำเป็นจะต้องอาศัยปัจจัยและองค์ประกอบอื่นๆมาอุดหนุนเกื้อกูลจึงจะประสบผลสำเร็จ ในบทความนี้จะขอหยิบยก 3 องค์ประกอบหลัก ที่ถือว่าจำเป็นต่อการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น ซึ่งก็ได้แก่ (1) เวลา (2) เวที และ (3) ไมตรี

องค์ประกอบแรกที่จะขอพูดถึงก็คือเรื่องของ “เวลา” พูดง่ายๆและตรงที่สุดก็คือถ้าไม่มีเวลา การเรียนรู้ก็ไม่เกิดหรือเกิดได้ยาก ในหลายๆที่เรามักจะพบเห็นคนที่มีงานหรือที่ทำตัวให้ยุ่งอยู่ตลอดทั้งวันจนดูเหมือนว่าไม่มีเวลาสำหรับใช้วิเคราะห์สังเคราะห์ปัญหาหรือสรุปบทเรียนใดๆเลย ทั้งๆที่ในปัจจุบันนี้เราก็มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีไปอย่างมากมาย ชีวิตน่าจะสะดวกสบายและมีเวลามากขึ้น แต่ดูเหมือนว่าคนเรามีกลับมีเวลาว่างน้อยลง ความเจริญทางด้านต่างๆมีการพัฒนาไปอย่างกว้างขวาง ในบางจังหวัดบางพื้นที่มีการจัดระบบชลประทานที่ดีทำให้ชาวนามีน้ำเพียงพอที่จะทำนาได้ปีละกว่า 3 ครั้ง แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับกลายเป็นว่า ชาวนาไม่ได้มีสถานภาพทางเศรษฐกิจดีขึ้นกว่าเดิมมากนัก แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ พวกเขากลับมีคุณภาพชีวิตที่ตกต่ำลง สุขภาพเสื่อมโทรมเพราะทำงานหนักขึ้น สัมผัสกับสารเคมีมากขึ้น มีเวลาให้กับครอบครัวน้อยลง จากตัวอย่างที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่า เวลาคือปัจจัยที่สำคัญอันดับแรกที่จำเป็นยิ่งสำหรับการเรียนรู้ องค์กร ชุมชน หรือครอบครัวใดที่คนมัวแต่ยุ่งอยู่ตกอยู่ในสภาพที่เรียกว่า “โงหัวไม่ขึ้น” จะทำให้หมดโอกาสที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ และไม่มีเวลาสำหรับใช้คิดสร้างสรรค์ได้เลย สภาพเช่นเดียวกันนี้ก็เป็นสิ่งที่พบเห็นกันได้ในมหาวิทยาลัย ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของสถาบันที่เป็นผู้นำเรื่องการเรียนรู้เช่นกัน นักศึกษาปริญญาโทส่วนใหญ่ต้องทำงานไปและเรียนไปด้วยควบคู่กัน หลายคนไม่เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีเวลามากพอที่จะเข้าชั้นเรียน หรือไม่มีเวลาสำหรับ “ย่อย” สิ่งที่ได้รับฟังหรืออ่านมา บางคนก็ไม่มีเวลาที่จะร่วมทำงานกลุ่ม หรือวิเคราะห์กรณีศึกษาที่อาจารย์มอบหมายให้ ถึงแม้ตัวอาจารย์เองก็เช่นกันหลายคนยุ่งอยู่กับงานสอนทั้งที่เป็นโครงการปกติและโครงการพิเศษต่างๆ จนไม่มีเวลาว่างพอที่จะไปเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเพิ่มเติม หรือให้เวลาในการพบปะพูดคุยกับนักศึกษานอกชั้นเรียนได้เลย จากตัวอย่างทั้งหมดที่นี้คงจะเห็นแล้วว่า เวลามีความสำคัญต่อการเรียนรู้เพียงใด นวัตกรรมการเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าหากไม่มีสิ่งที่เราเรียกว่า “เวลา”

นอกเหนือจากเรื่องเวลาแล้ว องค์ประกอบตัวต่อไปที่จะช่วยสนับสนุนและสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ได้ก็คือ จะต้องจัดให้มี พื้นที่ หรือเวที ไว้ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เวทีการเรียนรู้นี้ ถ้าจะให้ดีควรมีรูปแบบที่หลากหลาย คือ มีทั้งเวทีที่จัดตั้งขึ้นมาอย่างเป็นทางการ อาทิเช่นการจัดประชุมรูปแบบต่างๆ และเวทีในรูปแบบที่อาจจะไม่เป็นทางการมากนัก คืออาจจัดในลักษณะที่เป็นการรวมตัวของคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน หรือทำงานด้านเดียวกัน เป็นการจับกันแบบ “หลวมๆ” คือให้เป็นไปตามความสมัครใจ ไม่มีการบังคับ ในภาษาอังกฤษเรียกการ “ชุมนุม” ของคนกลุ่มต่างๆนี้ว่า Community of Practices หรือเรียกสั้นๆว่า “CoPs” ตามจริงแล้ว การสร้าง CoPs ให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่นั้น สิ่งที่สำคัญก็คือจะต้องพยายามสร้างความหลากหลายให้เกิดขึ้นให้มากที่สุด การที่ CoPs ประกอบด้วยคนที่มีพื้นฐานและประสบการณ์หลากหลายจะทำให้ได้มุมมองที่ค่อนข้างเปิดกว้าง แต่ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ จะต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายนี้ด้วย โดยที่ทุกคนจะต้องมีเป้าหมายร่วมกัน ไม่ใช่ไปกันคนละทิศคนละทาง กำหนดเป็นหลักการได้ว่า “ความคิดเห็นจำเป็นต้องหลากหลาย แต่เป้าหมายจะต้องเป็นหนึ่งเดียว” ความคิดเห็นที่หลากหลายนี้จะเป็นหัวเชื้อสำคัญที่ทำให้เกิดพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ สิ่งที่สำคัญก็คือ คนที่มารวมตัวกันนี้จะต้องรู้สึกอิสระและปลอดภัย ความเป็นอิสระ และความรู้สึกปลอดภัย จะทำให้คนเชื่อใจกัน มีความเอื้ออาทรต่อกัน ทำให้พร้อมที่จะแบ่งปัน เอื้อเฟื้อ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน
เวทีดังกล่าวนี้เป็นได้ทั้งพื้นที่ทางกายภาพ (physical space) ที่คนสามารถเข้ามาพบปะ พูดคุย ประชุมกัน มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ หรืออาจจะเป็นพื้นที่เสมือน (virtual space) ที่สร้างขึ้นมาโดยอาศัยเครือข่ายอินเตอร์เนท (internet) ก็ได้ อาทิเช่น การใช้ e-mail loop, webboard หรือ weblog จริงๆแล้วเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ (Information & Communication Technology) หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า “ICT” นั้นเป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างทรงพลังอย่างยิ่งในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ ดังจะเห็นได้จากแนวโน้มการใช้ internet/ search engine และการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) ที่นับวันจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาสำคัญอยู่ตรงที่ว่า ICT นั้นอาจช่วยได้ในเรื่อง “to know” หรือ “การรู้” แต่อาจจะไม่สามารถช่วยเรื่อง “to learn” หรือ “การเรียนรู้” ได้มากนักเพราะเรื่องการเรียนรู้เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยคน เป็นกระบวนการที่ต้องผ่านคนเป็นหลัก คนหลายคนยังสับสนแยกไม่ออกระหว่างสิ่งที่เราเรียกว่า “รู้” ซึ่งก็คือ “ to know” กับการเรียนรู้ ซึ่งก็คือ “to learn” การรู้กับการเรียนรู้ไม่เหมือนกัน การรู้ หรือ to know เป็นการมองภายใต้กระบวนทัศน์เดิม คือเป็นการมองแบบ supply–side มองเห็นว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่ต้องการให้รู้ จึง supply ให้ ในขณะที่การเรียนรู้หรือ to learn นั้นเป็นการมองภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่ ภายใต้มุมมองแบบ demand–side เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นมาควบคู่กับการที่ได้ “ทำจริง” เป็นการเรียนรู้ที่ได้จากการปฏิบัติ (learning by doing) เมื่อได้ทำ ก็ทำให้ได้ รู้จริง หรือเมื่อทำไปเรื่อยๆก็อาจจะ รู้แจ้ง ได้ ไปในที่สุด จุดแข็งของ ICT นั้นอยู่ตรงที่สามารถสร้างเครือข่ายที่กว้างไกลและสามารถขยายไปได้อย่างรวดเร็ว การสร้างเวทีเสมือนบนเครือข่าย ICT จึงเป็นเวทีที่ทำให้ผู้สนใจเข้าถึงได้โดยง่าย สะดวกรวดเร็ว ทำให้สามารถขยาย การรู้ หรือ to know นี้ออกไปได้อย่างกว้างขวาง โจทย์ที่เหลืออยู่ก็คือ จะต้องทำอย่างไรจึงจะทำให้ผู้ที่ได้รู้เหล่านี้เดินต่อไปจนถึงขั้นที่จะลองนำมาปฏิบัติ เพื่อจะได้เกิดความชัดเจนเกิดเป็นการเรียนรู้ที่แท้จริงต่อไป ขอย้ำอีกครั้งว่า ICT นั้นเป็น “เครื่องมือ” ที่ทรงพลังในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ แต่ ICT มิใช่ “เป้าหมาย” ICT มิได้เป็นตัวนวัตกรรมการเรียนรู้อย่างที่หลายคนเข้าใจ

ปัจจัยหรือองค์ประกอบที่สามที่จำเป็นสำหรับสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ นอกเหนือจากที่ต้องมี เวลา มีพื้นที่หรือเวทีให้แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ไมตรี คือต้อง มีใจ ให้แก่กันและกันด้วย ท่านลองหลับตานึกดูก็แล้วกันว่า ถ้ามีเวลาให้ และมีการจัดสรรพื้นที่ให้พบปะพูดคุยหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกันแล้ว หากแต่ว่าผู้ที่เกี่ยวข้องมีใจที่ปิดกั้น คับแคบ เต็มไปด้วยอัตตา (ego) มีอคติ (bias) แล้วจะเกิดอะไรขึ้น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้คงจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน นวัตกรรมการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้จึงจำเป็นต้องอาศัยใจที่เปิดกว้าง ต้องเป็น “ใจที่ว่าง” ว่างพอที่จะพร้อมรับสิ่งใหม่ๆ ที่หลั่งไหลเข้ามา ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ตกอยู่ในสภาวะ “น้ำชาล้นถ้วย” คือไม่สามารถรับอะไรใหม่ลงไปได้อีกเลย นอกจากนั้นใจที่ว่างยังหมายถึงการที่ไม่ยึดติดอยู่กับสิ่งเก่าๆ จะต้องพัฒนาให้คนมีความสามารถที่จะ “ลอกทิ้ง” สิ่งเก่าๆ คือมีทักษะที่จะ “unlearn” ได้ด้วย ใจที่ปล่อยวาง จะเป็นใจที่ไม่อคติ จะมองทุกสิ่งทุกอย่างด้วยปัจจุบันขณะ เห็นทุกอย่างในลักษณะที่ “ใหม่หมด สดเสมอ” เพราะเป็นการเห็นด้วยความระลึกรู้ด้วยความรู้ตัวว่าสิ่งที่กำลังเห็นนั้นเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ไม่ซ้ำกับสิ่งที่ได้เกิดไปแล้วในอดีต เป็นความรู้สึกที่ตื่น ชื่นบาน ต้องการแบ่งปัน และกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

การศึกษาที่แท้นั้น จะไม่มองผู้เรียนเปรียบดั่งเป็นถังน้ำ และมองบทบาทของครูผู้สอนว่าเป็นผู้ที่มีหน้าที่เติมน้ำให้เต็มถัง ซึ่งก็จะเป็นการมองแบบ supply–side หากแต่ต้องมองว่าหน้าที่ของครูอาจารย์นั้นจริงๆแล้วก็คือผู้ที่จุดไฟแห่งความใฝ่รู้ให้กับผู้ที่เป็นศิษย์ ทำให้ศิษย์เกิดฉันทะมีความต้องการที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนอย่างไม่จบสิ้น เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า “ไม่ว่าพ่อครัวจะเก่งกาจในฝีมือปรุงอาหารสักเพียงใด หากผู้ที่รับประทานไม่หิวแล้ว อาหารมือนั้นก็คงจะไม่มีความหมายอะไรมากนัก” ดังนั้นโจทย์ที่สำคัญในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้น่าจะอยู่ตรงที่ว่า เราจะต้องทำอย่างไรให้คนหิวกระหายและใคร่ที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา การสร้างฉันทะ สร้างความต้องการที่จะพัฒนางาน พัฒนาชีวิตให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน เท่ากับเป็นการสร้างdemand สร้างแรงดึง (pull) อันนำไปสู่การเรียนรู้ชนิดที่แนบแน่นเป็นเนื้อเดียวกับชีวิต สิ่งที่สำคัญก็คือเราจะต้องรู้จัก “บริหารความว่าง” คือต้องไม่ลืมที่จะจัดเวลา หาเวลาว่าง เตรียมพื้นที่ หาที่ว่าง ไว้สำหรับใช้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และที่สำคัญคือจะต้องไม่ลืมที่จะพัฒนาใจให้รู้จักการปล่อยวาง และว่างพอที่จะรู้สึกและเข้าใจในคุณค่าของสิ่งต่างๆที่กำลังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาเราอยู่ในขณะนี้








ชอบนวัตกรรมนี้เพราะ นวัตกรรมการเรียนรู้ สู่การศึกษาที่แท้ ของดร.ประพนธ์ ผาสุขยืดนั้นได้ให้ความหมายนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อชุมชนเป็นสูขได้ดี และเกิดประโยชน์มาก เพราะไม่ว่าบุคคลนั้นการศึกษาจะอยู่ในระดับใด หรือจะอยู่ในชุมชนใดก็ตาม การศึกษาหรือการเรียนรู้ก็จะเกิดกับบุคคลนั้นตลอดเวลา แล้วแต่ว่าวิถีทางความคิดของบุคคลนั้นจะมีความคิดอย่างไร เพื่อให้แตกต่างหรือสร้างสรรค์ และการนำการเรียนรู้ที่ได้มาให้พัฒนางาน พัฒนาชีวิตตลอดจนทำประโยชน์ให้เกิดกับตัวเองและชุมชน ประเทศชาติได้มีการพัฒนายิ่งๆขึ้นไป


วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเพิ่มประสิทธิภาพการสอน



กิจกรรมการเรียนการสอนเป็นกิจกรรมร่วมอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร วิธีพิจารณาประสิทธิภาพของการเรียนการสอนแบบง่าย ๆ ก็คือดูว่า หากผู้เรียนและผู้สอนใช้เวลาและความพยายามพอสมควรและผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มาก เราถือว่าประสิทธิภาพในการสอนดี เพราะลงทุนน้อยได้กำไรมาก แต่ในทางกลับกัน ถ้าทั้งผู้เรียนและ ผู้สอนได้ใช้ความพยายามเป็นอย่างยิ่ง มีความเหนื่อยยากแสนสาหัส และใช้เวลาเพื่อการนี้เป็นจำนวนมากจนไม่มีเวลาที่จะทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่มนุษย์ปกติเขาทำกัน แต่ผลที่ได้ออกมามันไม่มากเหมือนที่ได้ตั้งใจร่วมกันเอาไว้ ประสิทธิภาพการสอนเป็นเรื่องใหญ่ของสถาบันการศึกษา เป็นหัวใจของสถาบันการศึกษา เป็นเรื่องของหุ้นส่วนระหว่าง ผู้บริหาร ผู้สอน และผู้เรียน ที่ถือหุ้นเป็นจำนวนเท่า ๆ กัน เมื่อพบว่าสถาบันการศึกษาใดมีประสิทธิภาพของการสอนต่ำ ย่อมสรุปได้ว่าอาจมีเหตุปัจจัยมาจากผู้ถือหุ้นเหล่านั้น จะเป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทุกฝ่ายร่วมกันก็อาจเป็นได้ การวิเคราะห์ระบบเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการเรียนการสอนต้องวิเคราะห์หุ้นส่วนทั้งหมด เมื่อพบว่ามีความบกพร่องที่ใด ก็ต้องแก้ไขปรับปรุงตรงปัจจัยนั้น ๆ


เทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์


ความคิดเห็น: เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเพิ่มประสิทธิภาพการสอนมีความจำเป็นมากในยุคปัจจุบันเพราะเทคโนโลยีในสมัยใหม่สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนสามารถค้นหาความรู้จากแหล่งต่างๆได้อย่างรวดเร็วและข้อมูลที่ได้มานั้นน่าเชื่อถือและทันต่อเหตุการณ์และสามารถไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ตัวผู้สอนก็สามารถนำเทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วยในการเรียนการสอนและเพิ่มประสิทธิภาพการสอนให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น



http://www.sut.ac.th/tedul Article/Teaching2.htm
http://dusithost.dusit.ac.th/~libraianlit107/c1.htm/

ประวัติของฉัน


ดิฉันคิดว่าประวัติส่วนตัวของดิฉันก็ไม่น่าจะแปลกและแตกต่างจากคนอื่นๆมากนัก เริ่มต้นจาก เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม 2526 มีเด้กผู้หญิงตัวเล็กๆคนหนึ่งของครอบครัวอ่วมเจริญ ได้ลืมตามาดูโลกเป็นวันแรก และได้มีชื่อจริงว่าเด็กหญิงเจริญใจ อ่วมเจริญ ทีมาของชื่อนั้นสืบเนื่องมาจากชื่อพี่ชายที่ชื่อ เจริญพร พอโตพร้อมที่จะเข้าโรงเรียน ก็ได้เข้าโรงเรียนชั้นอนุบาล 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนวัดเกาะลอยชุณหวัฒราชรังสรรค์ ต่อจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 จบการศึกษาชั้นมัธยมต้นและมัธยมปลาย ก็เข้าศึกษาต่อที่มหาวิยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จบปริญญาตรี เอกรัฐประศาสนศาตร์ เข้ารับพระราชทานปริญาบัตรในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2550 ช่วงที่เรียนจบได้ว่างงานเกือบ 2 ปี ระหว่างที่ว่างงานนั้นก็ตระเวนหาที่สมัครงานและสถานที่สมัครสอบเพื่อเข้าทำงานเรื่อยมาจนเกือบจะหมดหวังแล้วว่าคงจะไม่มีงานเหลือให้ทำ และแล้วก็ได้ยินข่าวว่าทางเทศบาลตำบลเขางูไดเประกาศรับสมัครงานบุคคลเข้าทำงานในตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็กเล็กจำนวน 6 อัตรา เพื่อมาทำงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเขางู และก็ได้มีโอกาสเป็น 1 ใน 6 คนเข้ามาทำงานในตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็กเล็ก และนั่นก็เป็นสถานที่ทำงานในปัจจุบัน
ดิฉันไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่าตัวดิฉันจะได้มาเป็นครูในวันนี้ และก็จะทำหน้าที่เป็นครูที่ดีและเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็กๆ ซึ่งเด็กๆเหล่านี้จะเป็นอนาคตของชาติต่อไปในภายภาคหน้า