วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551

ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย

ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี
ผลิตภัณฑ์มีดช่างทิน


มีดช่างทินเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพมีความสวยงามและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายโดยอาศัยความรู้จากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษรวมทั้งอาศัยวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น
ประวัติ
ประวัตินายเศรษฐา แตงไทยนายเศรษฐา แตงไทยหรือที่บุคคลทั่วไปรู้จัก คือ "ช่างทิน" เกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503ที่บ้านจักษา ตำบลสะแกกรัง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานีเป็นบุตรของนายแทน และนางเอี่ยม แตงไทยสมัยเด็กอยู่กับบิดา มารดา ประกอบอาชีพทำปืน จากนั้นจึงเปลี่ยนมาเป็นการทำมีดและได้สมรสกับนางวาสนา แตงไทย
มีบุตรด้วยกัน 2 คน 1. นายสุทธินันท์ แตงไทย 2. นายธานี แตงไทย
ช่างทินเรียนรู้วิชาทำมีดจากบิดาและได้พัฒนาฝีมือพร้อมกับคิดค้นแบบใหม่ ๆ ขึ้นมา ช่างทินได้ประกอบอาชีพการทำมีดเพื่อหาเลี้ยงชีพด้วยความวิริยะอุตสาหะ ขณะเดียวกันก็ยังช่วยเหลืองานที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วยดีตลอดมาช่างทินได้เสียชีวิตลงด้วยโรคความดันโลหิต รวมอายุได้้ 43 ปี

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์



1.แข็งแรงสวยงาม ฝีมืือประณีต
2.รูปแบบของสินค้าเป็นการออกแบบร่วมกันระหว่างผู้ใช้และผู้ผลิตเพื่อให้ได้งานที่สมดุล สวยงาม
3.มีรููปแบบที่แปลกใหม่ แปลกตาอยู่เสมอ
4. ความพอใจของสินค้าทุกชิ้น


อุปกรณ์และขั้นตอนการทำมีด




อุปกรณ์
1. ปากกาจับงาน 2. ตะไบ
3. กระดาษทราย 4. หินเจีย
5. กระดาษวาดแบบ 6. เขาสัตว์ต่างๆ
7. เหล็ก


ขั้นตอนการทำมีด
1. วาดแบบลงบนกระดาษแข็ง แล้วนำไปทาบเพื่อตัดเหล็กตามแบบ
2. ตัดวัสดุที่เข้ากับงาน เช่น เปลือกหอยมุก เขาควาย งาช้าง เป็นต้น
3. นำมาประกอบเข้าด้วยกัน โดยใช้หมุดย้ำเพื่อเพิ่มความแข็งแรง
4. เก็บรายละเอียดของชิ้นงาน


วิธีการดูแลรักษา


1.ในส่วนใบมีดหลังการใช้งาน ให้เช็ดทำความสะอาด และชโลมน้ำมันจักรทิ้งไว้
2.ในส่วนของด้าม ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ไม้และงาช้าง ต้องระวังอย่านำไปตากแดดจัดเพราะจะทำให้ด้ามชำรุดได้
3.วิธีการลับคม ใช้หินรับมีดชนิดละเอียดที่สุดขัดเบาๆบริเวณคมมีดหรือใช้กระดาษทรายเบอร์ 1000 ขัดเบาๆบริเวณคมมีด




............................................................................................................


ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร


ด้านเทคโนโลยีพื้นบ้าน



ครกกระเดื่องติดเครื่องจักร



ลักษณะและวิธีการใช้
ครกกระเดื่องเป็นครกที่ใช้ประโยชน์ในการตำข้าว เปลือกเพื่อให้เป็นข้าวสารมารับประทาน เป็นเทคโนโลยีขั้น พื้นฐานอำนวยความสะดวกเพื่อดำรงชีวิต ครกกระเดื่องนอก จากจะใช้ตำข้าวแล้ว ยังใช้ตำแกลบหรือ เปลือกข้าวให้เป็นรำข้าวใช้เลี้ยงสัตว์ ตำแป้ง ขนมจีน ฯลฯ นับว่าเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์และ ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ทั้งยังเป็นการออก กำลังกายให้แข็งแรง ประหยัดเงินทองไม่ต้องจ้าง โรงสีสีซ้อมข้าว พร้อมกันนั้นก็ยังได้ ปลายข้าว รำข้าว เป็นผลิตผลพลอยได้ตามมา
อย่างไรก็ตาม การตำข้าวโดยใช้แรงมนุษย์ ที่ต้องการข้าวซึ่งเป็นผลผลิตปริมาณมากและภาย ใต้เงื่อนไขเวลาที่จำกัดไม่อาจทำได้ จึง ได้เกิดภูมิปัญญาชาวบ้านคิดค้นนำเครื่องจักร กล จากเครื่องยนต์สูบน้ำจากเครื่องยนต์รถไถ เดินตาม มาประกอบเข้ากับอุปกรณ์อีกชุดหนึ่งเพื่อ หมุนวงล้อให้สัมผัสกับปุ่มยกแขนครกกระเดื่อง ให้ขึ้น - ลงแทนแรงคน
ครกกระเดื่องติดเครื่องจักรเป็นที่นิยมกันในกลุ่ม ผู้ประกอบอาชีพตำข้าวเม่าขาย ในช่วงฤดูข้าวออก รวงใหม่ที่เรียกว่า "ข้าวตั้งท้อง" หรือ "ข้าวกำลังเม่า" ผู้ที่ประกอบอาชีพตำข้าวเม่า ขาย จะนำข้าวที่ตั้งท้องเป็นเม่ามาใส่ กะทะคั่วให้สุกพอประมาณ แล้วใส่ครกตำ ให้เป็นเม็ดแบน เอาเปลือกออกแล้วนำไปขาย เป็นข้าวเม่าภายในช่วง เวลาที่ต้องจำหน่ายให้ผู้ บริโภคในวันหนึ่ง ๆ ให้หมด หากทิ้งข้ามวัน ข้าวเม่าจะไม่หอมไม่เหมาะแก่การบริโภค ครกกระเดื่อง ติดเครื่องจักร จึงเข้ามาแทนแรงงานคนได้ อย่างเหมาะสม

ประโยชน์
1. การลงทุนต่ำ ครกกระเดื่องติดเครื่องจักร มีราคาไม่สูงนัก ประกอบด้วยครกกระเดื่องที่มี อยู่แล้ว1-2 ใบ ต่อแขนให้ยาวพอ ประมาณ ต่อกับอุปกรณ์ที่ประกอบขึ้นและตัวมอเตอร์ที่ ใช้กำลังจากน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล
ส่วนประกอบที่สำคัญ เช่น

ห่วง ขนาด 18" 2 ตัว
เพลาราง 2 ตัว
ตุ๊กตาและลูกปืน 4 ตัว
เหล็กฉาบ 1 เส้น มู่เล่ 6" 1 ตัว

เหล็กแผ่น 1 แผ่น อุปกรณ์เหล่านี้นำมาเชื่อม-ประกอบต่อกับแกน มอเตอร์ จากเครื่องยนต์สูบน้ำ หรือเครื่องยนต์จากรถ ไถเดินตาม ก็สามารถขับเคลื่อนให้ครกกระเดื่องทำงาน ได้ค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งสิ้นประมาณ 2,400 บาท ( ไม่นับเครื่อง ยนต์สูบน้ำหรือรถไถเดิม ตามซึ่งมีอยู่แล้ว )

ประสิทธิภาพการใช้งานสูง
ครกกระเดื่องติดเครื่องจักร สามารถทำงานได้ยาวนานหลาย ชั่วโมงต่อเนื่องกัน จากการศึกษาการทำงาน ระหว่าง 08.00-22.00 น. จะสิ้น เปลืองน้ำมันดีเซลเพียง 40 บาท


ได้ผลกำไรคุ้มค่า

จากการศึกษาจากเกษตรกรรายหนึ่งพบว่า เมื่อปลูก ข้าวได้ 90 วันใน ปริมาณ 3 ไร่ จะได้ข้าวเปลือก ประมาณ 60 หมื่น ( 1 หมื่น = 12 กิโลกรัม ) นำ ข้าวเปลือกครึ่งหนึ่ง ( 30 หมื่น ) มาตำเป็นข้าวเม่า ขายจะได้เงินประมาณ 8,000 บาท ส่วนข้าวที่เหลือ อีกครึ่งหนึ่งจะปล่อยให้เมล็ดแก่เพื่อเก็บไว้ รับประทาน จึงนับว่าเป็นรายได้ที่งดงาม ใน ปัจจุบันข้าวเม่าขายในท้องตลาดราคากิโลกรัมละ 100 บาท
การปลูกข้าวเพื่อขายเป็นข้าวเม่าจึงนับว่ามี รายได้สูงกว่าการปลูกข้าวขาย แต่ทั้งนี้ ผู้ผลิตต้องรู้จักการนำพันธ์ข้าวชนิดต่าง ๆ ที่มีอายุสั้น-ปานกลาง-ยาว มา ปลูกเป็นช่วง ๆ เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวเมล็ดข้าว เป็นระยะ ๆยาวนาน นำมาตำเป็นข้าวเม่าจำหน่าย แต่ สิ่งที่สำคัญคือ ครกตำข้าวซึ่งจะช่วยผ่อน แรงคนให้สามารถตำข้าวได้ตลอด เวลา ผู้ประกอบ ธุรกิจจะสามารถส่งข้าวเม่าสู่ตลาดจำหน่ายให้บริโภคได้ ต่อวัน
ครกกระเดื่องติดเครื่องจักร จึงเป็นเทคโนโลยีพื้นบ้านที่ สำคัญอย่างหนึ่งในสังคมการเกษตรกรในภาคอีสาน

.........................................................................................


ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดอยุธยา
การประดิษฐ์ดอกไม้จากต้นโสน


คนไทย เป็นชนชาติหนึ่งที่มีนิสัยในการประดิษฐ์คิดค้น สร้างสรรค์ และนิสัยดัดแปลง สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น รู้จักประดิษฐ์ดอกไม้จากต้นไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ให้เกิดเป็นศิลปะที่มีคุณค่าต่าง ๆ ตามประโยชน์ใช้สอย การประดิษฐ์ดอกไม้ของไทยในอดีตนั้น ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เช่น ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง ตลอดจนดอกไม้สด และใช้ในการประดับตกแต่ง หรือเป็นเครื่องห้อยในงานที่สำคัญ ๆ การใช้ดอกไม้สดนั้น ไม่คงทนถาวร ทำให้ต้องเปลี่ยนบ่อย ๆ ถ้าใช้ในการประดับตกแต่งหลาย ๆ วัน ย่อมทำให้เสียเวลาในการจัดดอกไม้ประดับแต่ละครั้ง และจากสาเหตุนี้เองทำให้บ้านเกิดความคิดที่จะประดิษฐ์ดอกไม้จากสิ่งอื่นขึ้นแทนดอกไม้สด ต้นโสน เป็นพืชที่ขึ้นทั่วไปในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยขึ้นตามทุ่งนา เวลาน้ำท่วมทุ่งปะปนอยู่กับข้าวและจะขึ้นตามท้องที่เคยมีต้นโสนขึ้นเป็นประจำ ออกดอกเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่ง มีลักษณะลำต้นกลมยาว เปลือกสีน้ำตาล ชาวบ้านเรียกว่า ต้นโสนหางไก่ ปัจจุบันสภาพแวดล้อมของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเปลี่ยนแปลงไปมาก น้ำไม่ท่วมทุ่งนาเหมือนสมัยก่อน โสนซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการประดิษฐ์ดอกไม้ ต้องสั่งซื้อมาจากจังหวัดนครนายก และปราจีนบุรี ซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง คือร้อยต้นละ 35 – 40 บาท การประดิษฐ์ดอกไม้จากไม้จากต้นโสน ทำกันมากบริเวณตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชาวบ้านที่นี่มีความสามารถ ในการประดิษฐ์ดอกไม้ โสน กันแทบทุกครัวเรือน แต่ที่มีฝีมือในการประดิษฐ์ มีลักษณะเป็นธรรมชาติทั้งสีสันและรูปแบบ มีจำนวนไม่มากนักในรายที่มีฝีมือไม่ประณีต สวยงาม จะใช้ในงานบวช และส่งไปจำหน่ายยังประเทศญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงค์โปร์ และประเทศอื่น ๆ ซึ่งผลงานการประดิษฐ์มี่ราคาแพงกว่าแบบแรก หลายเท่าตัว ปัจจุบันเศษวัสดุจากต้นโสนที่หลังจากการประดิษฐ์ เช่น เปลือก และแกนโสน จะมีผู้มาขอซื้อเพื่อนำไปประดิษฐ์สิ่งอื่น ๆ ในราคากิโลกรัมละ 10 – 12 บาท ปัจจุบันการประดิษฐ์ดอกไม้จากโสน ได้รับความนิยมมากขึ้นได้ขยายตัวไปยังตำบลบ้านกรด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดอกไม้ที่ประดิษฐ์ส่วนมากจะเป็นดอกเยียบีร่า เป็นพื้นดอกไม้อื่น ๆ ได้แก่ ดอกเบญมาศ ดอกบัว ดอกกุหลาบ พุด มะลิ คาร์เนชั่น และอื่น ๆ

กรรมวิธีการประดิษฐ์ดอกไม้จากโสน
นำต้นโสนที่โตสมบูรณ์ ลำต้นอวบ และต้นแก่แล้วมาทั้งต้นและราก แล้วนำมาล้างให้สะอาดโดยใช้กาบมะพร้าวถูดินออกจากลำต้นจนหมดแล้วนำมาตากแดดให้แห้ง ห้ามถูกฝน นำเก็บเข้ายุ้ง ต้นโสนที่แห้งแล้วนี้แม้ว่าจะเก็บนานถึง 2 – 3 ปี ก็ยังสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ได้
ขั้นตอนที่หนึ่ง ใช้มีดตัดต้นโสนที่แห้งแล้วให้เป็นท่อน ๆ ยาวประมาณท่อนละ 4 นิ้ว แล้วใช้มีดที่ลับคมขนาดใบมีดโกน ปอกเปลือกผิวนอกของโสนออกจนเห็นผิวของโสนเป็นสีขาว หลังจากนั้นก็เอามีดฝานเป็นแผ่นบาง ๆ รอบต้นโสนนั้น เมื่อฝานแล้วจะมีลักษณะคล้ายกระดาษบาง ๆ
ขั้นตอนที่สอง นำโสนที่ฝานแล้วมาเรียงซ้อนกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วนำแม่แบบ มาวางทาบ ใช้มีดตัดให้เป็นดอก , ใบ ตามที่ต้องการ ขั้นตอนที่สาม นำแบบที่ตัดไว้แล้วมาประดิษฐ์ให้เป็นรูป หรือจัดกลีบตามที่ต้องการ แล้วใช้ด้ายผูกโดยใช้ลวดเป็นแกนกลาง ขั้นตอนสุดท้าย นำดอกโสนที่ประดิษฐ์เสร็จแล้วมาย้อมสี ให้เหมือนธรรมชาติมากที่สุด โดยใช้สีย้อมแพร และสีย้อมไหม เสร็จแล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้ง เพื่อรอการประดิษฐ์เพิ่มเติมตามความต้องการของผู้ใช้ต่อไป ปัจจุบันแม้ว่าจะมีการประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติก โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์แต่ดอกไม้โสนก็ยังคงเป็นดอกไม้ที่ชาวบ้านชอบและรัก โดยส่วนใหญ่จะใช้ประดับในงานบวช งานศพ ที่ไม่ต้องลงทุนมากนัก นับว่าการประดิษฐ์ดอกไม้โสนที่อยุธยาเป็นงานช่างฝีมือและเป็นศิลปะพื้นบ้านที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นของชาวบ้านในอยุธยาที่ควรรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไป





ในหลวงกับเทคโนโลยี


1ความเป็นมาของวันเทคโนโลยีไทย...
ปี พ.ศ. 2544 นี้ เป็นปีที่ 32 นับแต่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เริ่มมีการทดลอง ปฏิบัติการจริง ในท้องฟ้าครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2512 และเป็นปีที่ 46 นับแต่ทรงเริ่มมีพระราชดำริ เมื่อ พ.ศ. 2498 เทคโนโลยีฝนหลวงที่ทรงทุ่มเทคิดค้นขึ้นมานี้ มิได้ยังประโยชน์ ต่อพสกนิกรไทยทุกหมู่เหล่าเท่านั้น แต่ยังเอื้อประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ชาติทั่วไป ดังจะเห็นได้ว่า นับแต่ประเทศไทยได้จดทะเบียนกิจกรรมฝนหลวงกับองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก แห่งสหประชาชาติ เป็นครั้งแรก เมื่อพ.ศ. 2525 เทคโนโลยีฝนหลวง จึงได้ถูกเผยแพร่เข้าสู่การยอมรับ และถ่ายทอดตามคำร้องขอให้แก่สมาชิกที่มีกิจกรรมดัดแปรสภาพอากาศ ขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก รวม 28 ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้ถ่ายทอดโดยตรงให้กับมิตรประเทศ ทั้งในกลุ่มอาเซียน 5 ประเทศ และนอกกลุ่ม เช่น ประเทศศรีลังกา บังคลาเทศ ปากีสถาน โอมาน เป็นต้น รวมทั้งมีการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และข้อมูลระหว่างกันกับประเทศ สหรัฐ อเมริกา แคนนาดา ออสเตรเลีย อิตาลี ฝรั่งเศส และสาธารณรัฐประชาชนจีน จนกระทั่งกลุ่มประเทศอาเซียน และองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ยกให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการดัดแปรสภาพอากาศ ในภูมิภาคเขตร้อน ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกจึงได้ ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ในฐานะที่ทรงพระปรีชาสามารถ และทรงเป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกให้กิจกรรมดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดฝนในภูมิภาคเขตร้อน มีความเป็นไปได้ และก้าวหน้ามาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น รัฐบาลได้ตระหนักถึงพระปรีชาสามารถในทางเทคนิค จึงมีมติคณะรัฐมนตรี ถวายพระเกียรติให้ทรงเป็น "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย" เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2543
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2544 และมีมติเลือกวันที่ทรงสาธิต ปฏิบัติการฝนหลวง แก่นักวิทยาศาสตร์สิงค์โปร์ จากเขื่อนแก่งกระจาน โดยใช้สนามบินบ่อฝ้าย อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นฐานปฏิบัติการ จนประสบความสำเร็จ เป็นที่อัศจรรย์ และประจักษ์ในพระปรีชาสามารถ ต่อนักวิทยาศาสตร์สิงคโปร์ และผู้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในวันนั้น





เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515 ให้เป็น "วันเทคโนโลยีของไทย" มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เทียบเท่าวันที่รัชกาลที่ 4 เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร สุริยุปราคา ณ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรำลึกถึง และทรงปรารภกับคณะบุคคลต่างๆ ที่มีโอกาสเข้าเฝ้าละอองธุลีพระบาท ไม่ว่าจะเป็น คณะผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ ด้านการดัดแปรสภาพอากาศ หรือคณะผู้บริหารระดับสูง และผู้ปฏิบัติ ในโครงการพระราชดำริฝนหลวง อยู่เสมอว่า ผู้ที่ทำให้โครงการพระราชดำริเป็นจริง และก้าวหน้ามาจนถึงปัจจุบัน คือ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิจัยประดิษฐ์ ด้านเกษตรวิศวกรรม ผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทยในขณะนั้น ซึ่งเป็นผู้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม รับพระราชทานแนวพระราชดำริ และข้อสมมติฐานมาดำเนินการค้นคว้าทดลอง วิจัยและพัฒนา ปฏิบัติการจนสำเร็จ และก้าวหน้ามาจนถึงทุกวันนี้ ทรงยกย่อง "ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล" ว่าเป็น "บิดาแห่งฝนหลวง" สำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในกิจกรรมโครงการพระราชดำริฝนหลวงตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ทุกหมู่เหล่า นอกจากจะซึมซับอยู่ในความทรงจำแล้ว ยังตระหนักดีว่าเหนือกว่า"บิดาแห่งฝนหลวง" แล้ว ยังมี "พระบิดาแห่งฝนหลวง" ผู้ทรงจุดประกายให้ "ฝนหลวง" ขึ้นมาในมนุษย์โลก และทรงเป็นหลักชัยของโครงการพระราชดำริฝนหลวง มาตราบเท่าทุกวันนี้ และตลอดไปชั่วกาลนาน


2.พระราชกรณียกิจด้านดาวเทียม...
ดาวเทียมไทยคมนับว่า เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้การสื่อสารโทรคมนาคมของไทยก้าวสู่ยุคแห่งความล้ำหน้า และได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสนองพระราชดำริในเรื่องของการศึกษา คุณขวัญแก้ว วัชโรทัย เป็นผู้สนองพระราชภารกิจที่โรงเรียนไกลกังวล หัวหินซึ่งขณะนี้ได้พยายามที่จะนำเอาดาวเทียมไทยคมเข้าไปใช้ในกิจการด้านการเรียนการสอน เจตนารมณ์ดังกล่าวเป็นการสนองตอบความต้องการของประชาชน และเป็นการปรับปรุงในเรื่องของการศึกษาให้สอดคล้องกับยุคสมัยอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการจัดการศึกษาใต้ร่มพระบารมีอย่างแท้จริง และที่สำคัญเพื่อเป็นการสนองพระบรมราโชบายทางการศึกษา ในอันที่จะทำให้โรงเรียนไกลกังวลเป็นเครือข่ายและเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาไทยคมอย่างแท้จริง กล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นอเนกอนันต์ต่อประเทศชาติ ที่ได้มีพระราชดำริให้มีการพัฒนางานทางระบบวิทยุสื่อสารขึ้นในประเทศอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เพราะสังคมปัจจุบันนั้น การสื่อสารก็เปรียบเสมือนกับระบบประสาทของร่างกายมนุษย์ ดังนั้นจึงนับได้ว่า พระองค์ท่านนั้นมีสายพระเนตรที่ยาวไกล ทรงเห็นบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อการสื่อสาร





3.ทฤษฎีว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศฝนหลวง...
ในปี พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงเยี่ยม พสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงพบเห็นว่าหลายแห่งประสบปัญหา พื้นดินแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรมักประสบความเดือดร้อนจากภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล และทรงความอัจฉริยะของพระองค์ด้วยคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ ทรงสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้น และได้มีพระราชดำริครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2498 แก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ว่าจะทรงค้นหา วิธีการที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับจากธรรมชาติโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ กับทรัพยากร ที่มีอยู่ให้เกิดมีศักยภาพของการเป็นฝนให้ได้ "ฝนหลวง" หรือ "ฝนเทียม" จึงกำเนิดขึ้นโดยประยุกต์ผลการวิจัยค้นคว้าทางวิชาการด้านฝนเทียมของประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอิสราเอล ภายใต้การพระราชทานข้อแนะนำจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่าง ใกล้ชิดพร้อมกันนี้ได้มีการจัดตั้ง "สำนักงานปฎิบัติการฝนหลวง" ขึ้น เพื่อรับผิดชอบการดำเนินงานฝนหลวงในระยะต่อ มาจนถึงปัจจุบัน การทำฝนหลวงว่ามี 3 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน เป็นการกระตุ้นให้เมฆรวมตัวเป็นกลุ่มแกน เพื่อใช้เป็น แกนกลางในการสร้างกลุ่มเมฆฝนในระยะต่อมา สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมคาร์ไบด์ แคลเซียมอ๊อกไซด์ หรือสารผสมระหว่าง เกลือแกงกับสารยูเรีย หรือสารผสม ระหว่างสารยูเรียกับแอมโมเนียมไนเตรท ซึ่งสารผสมดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดกระบวนการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศ 2. ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน ขั้นตอนนี้ใช้สารเคมี คือ เกลือแกง สารประกอบสูตร ท.1 สารยูเรีย สารแอมโมเนียไนเตรท น้ำแข็งแห้ง และอาจใช้สารแคลเซียมคลอไรด์ร่วมด้วยเพื่อเป็นการเพิ่มแกนเม็ดไอน้ำ (Nuclii) ให้กลุ่มเมฆฝน มีความหนาแน่นมากขึ้น 3. ขั้นตอนที่ 3 โจมตี สารเคมีที่ใช้ในขั้นตอนนี้เป็นสารเย็นจัด คือซิลเวอร์ไอโอได น้ำแข็งแห้ง เพื่อทำให้เกิดภาวะความไม่สมดุลมากที่สุด ซึ่งจะเกิดเป็นเม็ดน้ำ ที่มีขนาดใหญ่มากและตกกลายเป็นฝนในที่สุด อย่างไรก็ดี ทุกขั้นตอนจะต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ในการตัดสินใจที่จะเลือกใช้สารเคมีในปริมาณที่พอเหมาะ ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงสภาพอากาศสภาพภูมิประเทศทิศทางและความเร็วของลม ตลอดจนกำหนดบริเวณหรือแนวพิกัด ที่จะโปรยสารเคมี
ประโยชน์ของการทำฝนหลวง 1. เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตรในช่วงที่เกิดภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงยาวนานเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำ ให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำของแม่น้ำสายต่างๆ ที่มีปริมาณน้ำต้นทุนลดน้อยลง 2. เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เสริมสร้างเส้นทางคมนาคมทางน้ำ เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำโดยเฉพาะในบริเวณแม่น้ำที่ตื้นเขินให้สามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมได้ 3. เพื่อป้องกันและบำบัดภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม "ฝนหลวง" ได้บรรเทาภาวะแวดล้อมเป็นพิษอันเกิดจากการระบาย น้ำเสีย และขยะมูลฝอยลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำจากฝนหลวงจะทำให้ภาวะมลพิษจากน้ำเสียเจือจางลง 4. เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าฝนหลวงในอนาคตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวความคิดให้ทำการศึกษาวิจัยพัฒนาฝนหลวงหลายประการ คือ สร้างจรวดฝนเทียมบรรจุสารเคมีจากพื้นดินเข้าสู่เมฆหรือยิงจากเครื่องบิน การใช้เครื่องพ่นสารเคมีอัดแรงกำลังสูงจากยอดเขาสู่ฐานของก้อนเมฆโดยตรง เพื่อช่วยให้เมฆที่ลอยปกคลุมอยู่เหนือยอดเขาสามารถรวมตัวหนาแน่น จนเกิดฝนตกลงสู่บริเวณภูเขาหรือพื้นที่ใต้ลมของภูเขา